ชื่อ นักเรียน ญาณิศา เตชะวงศ์ชัย ชั้น ม.6/2 เลขที่ 5
ชื่อเรื่อง การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ จากหนังสือ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
ชื่อผู้แต่ง นันรณา จำลอง ปีพ.ศ.ที่พิมพ์ 2558
1.สาระสำคัญของเรื่อง
เป็นการศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของสิ่งพิมพ์ กระบวนการพิมพ์ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และการใช้โปรแกรมผลิตสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหา11หน่วย ได้แก่ ความรู้พื้นฐานของสื่อสิ่งพิมพ์ กระบวนการผลิตและหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ พื้นฐานการใช้โปรแกรม InDesign การสร้างและจัดการไฟล์งาน การทำงานกับข้อความ การปรับแต่งข้อความและการสร้างตาราง การแทรกรูปภาพและการวาดรูปทรง การทำงานกับวัตถุ การใช้งานสีในโปรแกรม InDesign การออกแบบ Master Page และการสร้างไฟล์หนังสือ การExportไฟล์งานเอกสารและการสั่งพิมพ์ ภายในเล่มมีการอธิบายเนื้อหาและการใช้งานโปรแกรม InDesign อย่างละเอียด เป็นขั้นตอน
2.แนวคิดของผู้เขียนที่ต้องการแบ่งปัน
1.แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของสื่อสิ่งพิมพ์2.การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ตามการใช้งาน
3.ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยโปรแกรมการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
3.แนวทางการปฎิบัติในเรื่องนี้ที่เสนอใว้ในหนังสือ / เอกสาร
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และจำแนกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพิมพ์
3.มีทักษะในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และจัดองค์ประกอบศิลป์ในสื่อสิ่งพิมพ์
4.ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยโปรแกรมผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
5.คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์
4.การนำมาใช้ในการเรียน
1.สามารถทำให่เราสามรถใช้โปรแกรม InDesign2.จะได้มีทักษะกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้
5.ผลที่คาดว่าจะเกิดกับตนเองและผู้อื่น
1.ทำให้ตัวเรามีทักษะในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ได้2.ช่วยเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้อื่น
3.เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการเขียนให้มีมากขึ้น
6.ได้นำความรู้ไปใช้ในการเรียน / ดำเนินชีวิต
คือ เวลาที่มีงานให้ทำเกี่ยวกับการออกแบบ ก็สามารถที่จะเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมในการที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ออกมาอย่างดีเนื้อเรื่องย่อ ดังนี้
ความรู้พื้นฐานของสื่อสิ่งพิมพ์
ประวัติการพิมพ์
![]() |
การแกะสลักตัวอักษร |
การพิมพ์มีต้นกำเนิดขึ้นในแถบเอเชียกลางและจีน โดยเริ่มแรกชาวจีนนิยมแกะสลักชื่อหรือสัญลักษณ์ลงบนแผ่นหิน หรือกระดูกสัตว์ ประมานปี ค.ศ.1000 ชาวจีนได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์เพื่อใช้กับแม่พิมพ์ผิวนูน โดยแกะแม่พิมพ์จากบล็อกไม้ แล้วนำมาเรียงต่อกันเป็นคำหรือประโยค แต่แม่พิมพ์ดังกล่าวเป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงค่อนข้างยุ่งยากและเสียเวลามาก ต่อมาจึงมีการนำดินเหนียวมาทำเป็นแม่พิมพ์แล้วเผาไหม้จนพัฒนามาถึงการใช้ตัวพิมพ์ที่หล่อจากโลหะ โดยการคิดค้นจากชนชาติเกาหลี
![]() |
เครื่องพิมพ์ของโยฮันกูเต็นเบิร์ก |
ส่วนวิวัฒนาการการพิมพ์ของชาติตะวันตกนั้นได้รับอิทธิพลมาจากชนชาติจีน โดย โยฮันกูเต็นเบิร์ก เป็นผู้พัฒนาระบบการพิมพ์ขึ้นในปีค.ศ. 1440 ด้วยการประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะที่มีส่วนผสมของตะกั่ว ดีบุก และพลวง ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ที่สามารถถอดเก็บและนำกลับมาใช้ได้ใหม่
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
การพิมพ์ในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยในขั้นต้นยังไม่มีการพิมพ์หนังสือที่เป็นภาษาไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2378 นายแพทย์ แดน บีช แบรดลีย์ หรือ หมอบัดเลย์ ได้นำแม่พิมพ์ภาษาไทยเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 โดยในการพิมพ์ระยะแรกเป็นการพิมพ์เอกสารเผยแผ่ศาสนาของมิชชันนารีต่างชาติ
ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับ “สื่อสิ่งพิมพ์” ไว้ดังนี้
คำว่า “สิ่งพิมพ์” หมายถึง สมุด แผนกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผังภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
“สิ่งพิมพ์” หมายถึง ข้อความ ข้อเขียน หรือภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด ข้อมูล สารคดีบันเทิง ซึ่งถ่ายทอดด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ ฟิล์ม หรือวัสดุพื้นเรียบ
“สื่อ” หมายถึง การติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน หรือตัวกลางที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน
“พิมพ์” หมายถึง ถ่ายแบบ ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ ให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือ หรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์ หินเครื่องกลวิธีเคมีหรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา รูปร่าง ร่างกาย แบบ
ดังนั้น “ สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือนต้นฉบับขึ้นหลายสำเนา ในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อหรือชักนำให้บุคคลอื่นให้เห็นหรือทราบข้อมูลต่าง ๆ” สิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสารหนังสื่อเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
ในปัจจุบันสามารถแบ่งสื่อสิ่งพิมพ์ได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะใชเกณฑ์ใดในการจะแนก โยในที่นี้จะแบ่งประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ตามความนิยม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น4ประเภท ดังนี้
![]() |
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ |
1.สิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์
1.1 หนังสือประชานิยม (Popular Newspaper)
1.2 หนังสือพิมพ์คุณภาพ (Quality Newspaper)
2.สิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสาร และ วารสาร
3.สิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเล่ม
3.1 หนังสือสารคดี (Non - fiction)
3.2 หนังสือบันเทิงคดี ( Fiction)
3.3หนังสืออ้างอิง (Reference)
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
4.1จุลสาร (Booklet)
4.2จดหมายข่าว (Newsletter)
4.3แผ่นพับ (Folder)
4.4ใบปลิว (Leaflet)
4.5 โปสเตอร์ (Poster)
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการพิมพ์มีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการนำเครื่องจักรและระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต ทำให้สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ ในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้สื่อสิ่งพิมพ์เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์สามารถจำแนกได้ดังนี้
บทบาทด้านงานสื่อมวลชน
![]() |
หนังสือพิมพ์ |
การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญสำหรับสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สาระ และความบันเทิงไปสู่ผู้อ่าน โดยสื่อมวลชนมีหน้าที่คัดกรองข้อเท็จจริงและสรุปข้อมูลก่อนนำเสนอ ตัวอย่างของสื่อสิ่งพิมพ์ด้านงานสื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร เป็นต้น
![]() |
หนังสือเรียน |
บทบาทด้านการศึกษา
หนังสือเรียนจัดว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีราคาย่อมเยาว์ สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถสื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้อย่างสะดวก ตัวอย่างของสื่อสิ่งพิมพ์ด้วนการศึกษา ได้แก่ ตำรา แบบเรียน พจนานุกรม เป็นต้นบทบาทด้านการดำเนินงานของรัฐ
ในการชี้แจงนโยบาย แถลงการดำเนินงาน และการวางแผนบริหารประเทศของรัฐ สื่อสิ่งพิมพ์จะมีบทบาทอย่างมากในการชักจูง ชี้ชวน ขอความเห็น หรือทำความเข้าใจระหว่างรัฐกับประชาชน ตัวอย่างของสื่อสิ่งพิมพ์ด้านการดำเนินงานของรัฐ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายสาธารณะ เป็นต้นบทบาทด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
![]() |
ผลิตภัณฑ์ |
สื่อสิ่งพิมพ์ได้ถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การผลิตบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อธุรกิจมีการเติบโต ก็จะส่งผลให้ความต้องการ ผลิตภัณฑ์ทางการพิมพ์เพิ่มขึ้นไปด้วย ตัวอย่างของสื่อสิ่งพิมพ์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร ฉลากบรรจุภัณฑ์ ใบเสร็จ กระดาษจดหมาย และ ซองจดหมาย เป็นต้น
พื้นฐานการใช้โปรแกรม InDesign
![]() |
InDesign Logo |
ความรู้เบื้องต้นโปรแกรม Adobe Indesign
โปรแกรม Adobe Indesign เป็นโปรแกรมสาหรับงานด้าน สิ่งพิมพ์ งานออกแบบเอกสาร หรือ เรียก ง่ายๆว่าโปรแกรมจัดหน้ากระดาษ จุดเด่น ของ โปรแกรม Indesign คือสามารถ ทางานด้านการจัดหน้ากระดาษได้ เป็นอย่างดีซึ่งคล้ายๆกับการ นาเอาโปรแกรม Pagemaker มารวมกบัโปรแกรม Illustratorระบบการทำงานของโปรแกรม Indesign ไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ ต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย (เตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต ,Logo ต่างๆ มาจาก illustrator)
ส่วนข้อความสามารถเตรียมมาจากโปรแกรมประเภท เวิร์ด โปรเซลซิ่ง (Word Prospering) แล้ว เราจงึนามาประกอบรวมกันเป็นหนังสือหรือแผ่นพับต่างๆในIndesignเสร็จแล้วเรา จึงExportไฟล์งานของเรานนั้เป็นไฟล์PDFX1-aหรือPDFX-3เพื่อสง่โรง พิมพ์ ทางโรงพิมพ์ก็จะทา Digital Poof ส่ง กลับมาให้เราตรวจสอบความเรียบร้อย ก่อนจะทาเพลท และส่ง ให้โรงพิมพ์ต่อไป
ส่วนประกอบของโปรแกรม Indesign
![]() |
ส่วนประกอบของโปรแกรมIndesign |
- Menu Bar : บรรจุคำสั่งใช้งานต่างๆ การทำงานจะคล้ายๆกับโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator
- Option Bar : บรรจุตัวเลือกกำหนดคุณสมบัติหรือตัวปรับแต่งการทำงานให้กับวัตถุ ( ตัวอักษรหรือภาพ ) ที่เรากำลังเลือกทำงาน
- Tool Bar : เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน
- Document : พื้นที่เอกสาร สำหรับการทำงาน คล้ายกับกระดาษเปล่าๆ ที่คอยให้เราเติมตัวอักษรหรือภาพ
- Pasteboard : พื้นที่ว่างๆ รอบเอกสาร คล้ายกับโต๊ะทำงาน ที่เราสามารถวางสิ่งของอื่นๆได้
- Guide : ไม้บรรทัดสำหรับการวัดระยะหรือสร้างเส้น Guide
หน้าจอแรกของโปรแกรม Adobe InDesign
เมื่อเราเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม หน้าจอจะประกอบด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องทำความเข้าใจกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอ และพื้นที่ในการทำงาน
แถบคำสั่ง (Menu bar)
คำสั่งใน Menu Bar มีทั้งหมด 9 คำสั่ง ดังต่อไปนี้
File เป็นคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับไฟล์
Edit เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการปรับแต่งต่าง ๆ
Layout เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการวางหน้าเอกสารทั้งหมด
Type เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำงานกับตัวอักษร
Object เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการออบเจ็กต์ทั้งหมด
Table เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการใช้งานตาราง
View กำหนดมุมมองการแสดงภาพในรูปแบบต่าง ๆ
window จัดการแต่ละหน้าต่างที่ปรากฏบนหน้าจอโปรแกรม
Help รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำเกี่ยวกับโปรแกรม
กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
เป็นเครื่องมือที่ใช้งานในการสร้าง การปรับแต่งและการแก้ไขภาพ โดยจะแบ่งกลุ่มเครื่องมือดังนี้
1. กลุ่มคำสั่ง Selection tools เกี่ยวกับการเลือกวัตถุ
2. กลุ่มคำสั่ง Drawing and Type tools เกี่ยวกับการวาดภาพ และใส่ตัวอักษร
3. กลุ่มคำสั่งพิเศษ Transformation tools เกี่ยวกับการปรับแต่งภาพ
4. กลุ่มคำสั่ง Modification and Navigation tools เกี่ยวกับการดูภาพ และปรับมุมมอง
5. กลุ่มคำสั่งในการเลือกสีในชิ้นงานและเส้นขอบของชิ้นงาน
6. กลุ่มคำสั่งที่เกี่ยวกับการแสดงหน้าจอของ InDesign
เป็นแถบตัวเลือกสำหรับกำหนดค่าต่างๆ ของวัตถุเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ โดยจะปรับเปลี่ยนตัวเลือกไปตามการใช้งานระหว่างการทำงานกับวัตถุ และการทำงานกับ
ข้อความ ให้สามารถกำหนดค่า สี ขนาด ตำแหน่งและคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุและรูปแบบของข้อความที่เลือกได้ง่ายขึ้น
การจัดการกับหน้าต่างการทำงาน (Workspace)
ในการออกแบบชิ้นงานแต่ละประเภท หน้าต่างการทำงาน (Workespace) เป็นส่วนที่สำคัญที่มีผลต่อการใช้ในเครื่องมือต่างๆ ในสะดวกและเร็วขึ้น และการตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเราสามารถจัดการหน้าต่างการทำงานให้เหมาะสมกับงานที่ทำได้ โดยสามารถเรียกใช้ได้ ดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Window àWorkespaceà New Workspace…
2. ตั้งชื่อให้กับรูปแบบของหน้าต่างการทำงาน
3. กำหนดค่าเพิ่มเติม
4. กด OK
1. เลือกคำสั่ง Edit à Keyboard Dhortcuts…
2. เลือกรูปแบบของคีย์ลัดตามโปรแกรมที่ถนัด
3. กด OK
1. เลือกคำสั่ง Edit à Keyboard Shortcuts…
2. คลิกเลือก New set…
3. ตั้งชื่อและกำหนดชุดคีย์ลัดการอ้างอิง
4. กด OK
5. คลิกเลือกที่อยู่ในส่วนของ Commands
6. คลิกกำหนดคีย์ลัดใหม่
7. กด OK
ลบคีย์ลัดที่ไม่ได้ใช้ออก
1. เลือกคำสั่ง Edit à Keyboard Shortcuts…
2. คลิกเลือกชื่อของชุดคีย์ลัดที่ต้องการลบ
3. กด Delete set
4.จะขึ้นกรอบคำถาม ให้กด "YES"
ผลที่เกิดกับนักเรียน / กับงาน หรือเพื่อนร่วมห้อง
การที่เราสร้างสื่อชิ้นนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้ในเรื่องการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์นี้ขึ้นจะส่งผลให้เราได้ทบทวนความรู้ในเรื่องของการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อีกรอบนึงหลังจากที่เคยได้เรียนไป อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมในการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ในส่วนที่เรายังไม่รู้ และได้ร็ถึงวิธีการใช้โปรแกรม InDesign ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เหมาะแก่การที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ ในส่วนของผลที่เกิดกับเพื่อนร่วมน้องนั้น ก็เป็นการเสริมสร้างและทบทวนความรู้ให้กับเพื่อนในเรื่องของการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น